วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทินครั้งที่9
วันศุกร์ที่13 มีนาคม พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับ
นำเสนอวิจัย......โดย นาวสาวประภัสสร สีหะบุตร เลขที่ 21เรื่อง  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบสรุป        ทักษะทางพื้นฐานคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอย่างมีวินัยสำคํญทางสถิติ การทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมนั้น ควรเตรียมครีมใส่กรวยเมื่อใกล้จะทำเพราะว่าถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้นำ้มันในครีมละลายซึมออกมานอกกรวยที่ใส่ครีมแต่งหน้าเค้กควรมีขนาดที่พอเหมาะกับมือของเด็กเพื่อที่จะได้สะดวกกับเด็กในการทำกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบมีพัฒนาการด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัย เช่นด้านความคิดแก้ปัญหา ทักษะทางภาษาส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและลีลามือ การทำกิจกรรมนี้ทำให้เด็กมีความมั่นใจและตั้งใจในการทำกิจกรรม
นำเสนอวิจัย.....โดย นาวสาวมาศสุภา วงษ์สรรค์ เลขที่ 23เรื่อง  เรื่อง พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้เพลงชื่อผู้วิจัย  นางสาววรชนีกร พ่วงโพธิ์สรุป      ในการส่งเสริมพัฒนาการสติปัญญาของเด็กปฐมวัยนั้นจะแรทรกอยู่ทุกกิจกรรม แต่กิจกรรมที่มีความสนุกสนานและรู้สึกผ่อนคลาย พัฒนาสมอง เพลิดเพลินโดนเด็กไม่รู้เลยว่ากำลังเรียนคณิตศาสตร์อยู่คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรี เด็กได้เล่นไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวและฟังเพลงซึ่งเนื้อหาของเพลงจะสอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็กอนุบาล ซึ่งมีสมาธิไม่มากพอจะจับมานั่งเรียนคณิตศาสตร์
การจัดประสบการณ์ แบบSTEM
องค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ   (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน    (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น
การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่       การปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็ก จึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียน ที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบันกรอบมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 2 : การวัด   - ความยาวของสิ่งของต่างๆ เป็นการหาตามแนวนอน   - การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง   - การวัดควายาว ความสูง ของสิ่งของอาจใช้เครื่องมือที่มีหน่วยมาตรฐาน   - ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งของต่างๆ   - เรียงลำดับความยาว ความสูง จากมาก-น้อย จากน้อย-มาก   - การชั่งน้ำหนัก ปริมามาตรน้อยกว่า มากกว่า เท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ   - การตวง   - ตัวเลขบนพันธบัตร   - เวลาในแต่ละวัน   - เช้า สาย บ่าย เที่ยง เย็น วันนี้ พรุ่งนี้   - ใน 1 สัปดาห์ มี 7 วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ 

สาระที่ 3 : เรขาคณิต   - ข้างบน ข้างล่าง เป็นคำใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะของสิ่งของต่างๆ   - การจำแนก วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
สาระที่ 4 : พีชคณิต   - รูปแบบความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์





สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น
    - เก็บข้อมูลจากวิธีการสังเกตุ และ สอบถาม

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     - มีส้ม5ผลกินไป3ผลเหลือส้มกี่ผล
    - เก็บข้อมูลจากวิธีการสังเกตุ และ สอบถาม
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์     - มีส้ม5ผลกินไป3ผลเหลือส้มกี่ผล
                      5-3 = 2
        เหลือส้ม2ผล
*** สอนแบบเป็นนิทาน ***
ตัวอย่าง
ครอบครัวของแม่เป็ดทั้งหมด 6 ตัว วันนี้แม่เป็ดจะพาลูกเป็ดออกไปหาอาหาร  จึงให้ลูกเป็ดเดินเป็นแถว
แม่เป็ดเรียกลูกเป็ด 1 2 3 4 5 และรวมแม่เป็ดด้วยเป็น 6 ตัว ทั้งหมดเดินมางไปหาอาหาร และได้หยุดเล่นน้ำที่บึงแห่งหนึ่ง ลูกเป็ด 2 ตัวได้เล่นน้ำไกลออกไปจากแม่และพลัดหลงกับแม่เป็ด  แม่เป็ดเรียกลูกเป็ดให้กลับบ้าน 1 2 3 และแม่เป็ด 4 เอ๊ะ!! หายไปไหน 2 ตัว เพื่อนๆรู้ไหมว่า ครอบครัวเป็ดจะเหลือกี่ตัว?
ทักษะ
การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
วิธีการสอน
 อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เสริมทักษะการใช้ชีวิตในสังคมว่าสิ่งใดควรปฏิบัติ ไม่ควรปฏิบัติ
ประเมิน
สภาพห้องเรียน
               มีความสะอาด เรียบร้อยดี อุปกรณ์ เทคโนโลยีครบครัน สภาพอากาศค่อนข้างร้อน เก้าอี้บางตัวชำรุดเสียหาย
ตนเอง   
       แต่งกายถูกระเบียบ ปรับปรุงการนำเสนอหน้าชั้นเรียนไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง     
 เพื่อน   
  เมื่อมีข้อสงสัยใดๆจะถามในทันทีทันใด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตั้งใจฟังการนำเสอนของเพื่อน     อาจารย์ 
เข้าสอนตรงต่อเวลา การสอนใช้เสียงดังชัดเจน รูปแบบการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน   

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกครั้งที่8 วันศุกร์ ที่ 6มีนาคม พ.ศ, 2558
บันทึกอนุทิน    

ความรู้ที่ได้รับ
การนำเสนอบทความของเลขที่19,20
น.ส.วราภรณ์ แทนคำ เลขที่ 19
เสนอบทความเรื่อง ทำไมถึงสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็ก
     การสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกตอนเด็ก มักจะกระตุ้นการเรียนรู้ได้ดี ทำได้หลายวิธี การอ่านให้คิดและยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง นอกจากจะช่วยสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกแล้วยังจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นเรื่อง่ายดายสำหรับเด็ก
น.ส.รัตนาภรณ์ คงกะพันธ์ เลขที่ 20
เสนขอบทความเรื่อง คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุกและเข้าใจ
     การที่จะทำให้เด็กสนุกก็ต้องมีการต่อยอดจากหนงสือรูปแบบกิจกรรมทำให้เด็กมีส่วนร่วม เช่น เพลง เกม การใช้สื่อมีสีสันสวยงามจะทำให้การเรียนมีระสิทธิภาพมากขึ้น
-สรุปการนำเสนอรูปแบบการเรียนต่างๆ
1.1 รูปแบบการเรียนแบบโครงการ
         หมายถึง การจัดการเรียน การสอนรูปหนึ่งซึ้งให้ความสำคัญกับเด็กส่งเสริมให้เด็กแสวงหาจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ลักษณะสำคัญ  การค้นหาคำตอบโดยให้เด็กสืบค้นด้วยตนเอง
         กิจกรรมหลักในโครงการ4กิจกรรม
-กิจกรรมแลกเปลี่ยนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนชั้น
-กิจกรรมทัศนศึกษา
-กิจกรรมสืบค้น
-กิจกรรมการนำเสนอ
ประโยชน์
เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง
ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
1.2 การเรียนรู้โดยการใช้สมองเป็นฐาน
       คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ล่ะช่วงวัยเป็นการนำองค์ความรู้มาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการการเรียนรู้
1.3 การเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนมอนเตสเซอรี่
        การจัดการสอนที่มีแนวคิด คำนึงถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ ให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้มีการเตรียสิ่งแวดล้้อมจัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก ให้เด็กซึมซับสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนเกิดความอยากรู้อยากเห็น และแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตนเองทำให้เด็กเกิดพัฒนาการ
1.4 รูปแบบการเรียนรู้ของSTEM
        การเรียนรู้กับสิ่งต่างๆในโลกโดยการผ่านประสาทสัมผัสทั้งทำจากการค้นหา ทดลอง การคิด
1.5 การเรียนรู้แบบเดินเรื่อง
       การจัดที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหลาย

ทักษะ
1, การนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
2.การนำเสนอการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
3,การร้องเพลงเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์

วิธีการสอน
1.การสอนโดยการปฎิบัติจริงทำให้นักเรียนมองเห็นภาพ
2.การสอนด้วยเพาเว่อร์พ้อยให้นักเรียนสรุปตาม
3.ให้นักเรียนคิดตาม

ประเมิน
สภาพห้องเรียน
  แอร์เย็นมากเกินไปทำให้หนาวเวลาเรียนและง่วงนอน ห้องสะอาดไม่มีขยะ
ตนเอง
  เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนดีไม่คุยกับเพื่อนฟังอาจารย์อธิบายความรู้อย่างตั้งใจ
เพื่อน
  มีความพร้อมที่จะเรียนสามารถตอบคำถามอาจารย์ได้ตลอด ไม่เล่และไม่คุยกันในห้องเรียน
อาจารย์
  มีเทคนิคการสอนที่ดีสามาถรทำให้นักเรียนจำได้ ให้คำแนะนำคอยดูแลเอาใจใส่นักเรียนได้อย่างทั่วถึงทำให้เกิดความอบอุ่นน่าเรียน

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
ประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558
ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

การจัดห้องเรียนแบบมอนเตสซอรี่
 - จัดจากง่าย >>> ยาก
 - ตรวจสอบได้
 - ของเป็นรูปทรง
 - เน้นการสัมผัส
 - การจัดเป็นระเบียบ
การสอนโดยใช้ตารางเมกทริกซ์
  - การสังเคราะห์ อ่านไม่ออกแต่สามารถบอกได้ เช่น การใช้ภาพ สัญลักษณ์
  - สอนแบบสาธิต เช่น แผนที่
รูปแบบการจัดประสบการณ์
    การจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ
    การจัดประสบการณ์ แบบโครงการ
    การจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
    การจัดประสบการณ์ แบบSTEM
    การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
    การจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง
การนำไปใช้ 
เด็ก ต้อง ควร อยาก รู้อะไร    >> สาระการเรียนรู้
เด็ก ต้อง ควร อยาก ทำอะไร >> ทักษะ ประสบการณ์สำคัญ
ทักษะ
 นำเสนอโทรทัศน์ครู
โดย นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น
สรุป  
   เป็นการจัดกิจกรรมเน้นการจัดแบบใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ตา - ดู
หู  - ฟังมีกระบอกเสียงให้เด็กได้ฟัง
สัมผัส - ปิดตาและให้เด็กสัมผัสสิ่งต่าง
ดม - จมูกดมกลิ่น
ลิ้น - ชิมน้ำรสชาติต่างๆ
การทำกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในขั้นต่อไป
นำเสนอโทรทัศน์ครู

โดย นางสาววัชรี วงศ์สะอาด
สรุป
    เรียนรู้เรื่องผลไม้ ให้เด็กได้ชิมรสของผลไม้ เล่นจ้ำจี้ผลไม้ และนำเด็กไปทัศนศึกษา แต่ก่อนไปมีการทำข้อตกลงก่อนไปโดยเสนอว่ามีข้อตกลงใดบ้าง เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์กับแม่ค้า
ตัวอย่างการเรียนรู้ เมื่อเจอแม่ค้าสวัสดี ถามว่าผลไม้นี้ขายอย่าไร หากเป็นกิโลก็จะให้เด็กช่วยกันนับว่าส้ม 1 กิโลกรัม เข็มกิโลจะเป็นอย่างไร และจะได้ทั้งหมดกี่ผลจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่อง รูปทรง การวัด การนับ
** การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบนอกสถานที่**
เพลง 
นี่คือนิ้วมือของฉัน        มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว
มือซ้ายฉันมี 5 นิ้ว         มือขวาก็มี 5 นิ้ว
นับ 1 2 3 4 5                นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ      นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ
วิธีการสอน
 ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์ เช่น การจัดประสบการณ์ดังกล่าวเป็นรูปแบบใด เป็นแนวคิดของใคร
นำเสนอผ่านโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน
ประเมินสภาพในห้องเรียน

รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง
ประเมิน

  ตนเอง -  ขาดความรับผิดชอบเนื่องด้วยไม่ได้นำป้ายชื่อไปเรียน เข้าเรียนตรงเวลา
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น

*หมายเหตุ คัดลอกมาจากนางสาว รัตนาพร คงกระพันธ์

บันทึกอนุทินครั้งที่6

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
บันทึกอนุทิน
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
         อาจารย์ให้นักศึกษานำป้ายชื่อไปติดในช่องตาราง โดยกำหนดหัวข้อ คือ สถานที่ที่จะไปในวันวาเลนไทน์
    เลขที่ 15 รายงานวิจัยเรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์
การใช้เพลงที่แต่งขึ้นเอง จัดประสบการณ์เพื่อสงเสริมสาระรู้ค่าของจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์มีการใช้แบบทดสอบก่อนเรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความรู้เดิม  ใช้สื่อ power point ในการบรรยาย และใช้เกมในการสอน เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้โดยการได้ลงมือปฏิบัติจริง

สภาพห้องเรียน
ตนเอง

บันทึกครั้งที่ 6 วันศุกร์ที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


องค์ความรู้

เนื้อหา/สาระ
    เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
    กิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระตามมาตรฐาน

    นิทาน กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการอะไร และวางตัวละครของเรื่อง
    เพลง การใช้จังหวะเพื่อให้เด็กได้นับจังหวะของเพลง
    เกม เกมเกี่ยวกับจำนวน เช่น บิงโก โดมิโน
    คำคล้องจอง สามารถแต่งขึ้นเอง และดัดแปลงเนื้อหาให้สอดคล้องกับสาระที่เรียนรู้
    ปริศนาคำทาย ควรเพิ่มลักษะณะขึ้นเรื่อยๆให้เด็กได้เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่
    บทบาทสมมติ การเล่นกิจกรรมเสรี เช่น การเล่นขายของ
    แผนภูมิภาพ เช่น  แผนภูมิรูปภาพ/ของจริง แผนภูมิแท่ง  แผนภูมิวงกลม 
    การประกอบอาหาร
    
กิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระตามมาตรฐาน
          ยุภา   ธรรมโคตร นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านเกม โดยใช้สื่อที่เป็นจิ๊กซอเพื่อส่งเสริมสาระที่ 3 เรขาคณิต และสาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
        กมลรัตน์   มาลัย นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านมุมบทบาทสมสติ โดยการเล่นมุมร้านค้าเพื่อส่งเสริมสาระที่ 2 การวัด
         ปรางชมพู   บุญชม นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรม โดยใช้สื่อที่เป็นรูปทรง จากการให้เด็กจำแนกประเภทของรูปทรงแต่ละชนิดเพื่อส่งเสริมสาระที่ 4 พีชคณิต
         ประภัสสร   คำบอนพิทักษ์ นำเสนอเทคนิคการสอน โดยให้เด็กนั่งตามชื่อที่ติดไว้ สอนในเรื่องของตำแหน่ง และระยะทางเพื่อส่งเสริมสาระที่ 3 เรขาคณิต



ทักษะ





          การจัดกิจกรรมดังกล่าวเด็กได้เรียนรู้ทักษะการรวม การแยกกลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการได้ลงมือปฏิบัติจริง

การรายงานวิจัยหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 13 - 15
   
    เลขที่ 14 รายงานวิจัยเรื่อง ผลการใช้สื่อในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์
                   สรุปวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อในท้องถิ่น 4 ประเภท คือ รูปทรงเรขาคณิต ประเภทตามขนาด ประเภทตามชนิด และประเภทตามสี  เช่น การเล่นบล็อกที่ทำจากไม้ประดู่ และกะลามะพร้าว เป็นต้น

                  สรุปวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการเรียนปนเล่น โดยใช้การละเล่นแบบไทย เช่น การละเล่นรีรีข้าวสาร ม้าก้านกล้วย และเกมบรรไดงู เพื่อพัฒนามมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การนับเลข จำนวน 1 - 30 ตัวเลขจำนวนคู่ - คี่ และการเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ โดยมีขั้นตอนการจัดเริ่มจากง่ายไปหายาก และเป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม เพื่อฝึกความมีเหตุผล ให้สัมพันธ์กับช่วงอายุ


*** เพลง เลขสอง ***
                                                   ไข่ 2 ฟอง            กลอง 2 ใบ 
                                                   ไก่ 2 ตัว               วัว 2 เขา 
                                                   เกาเหลา 2 ชาม    นับไปนับมา 
                                                   สองอย่างหมดเลย
กิจกรรมการเรียนรู้
เกม       การหารูปทรงจากสี่เหลี่ยม
สื่อ         กระดาษสีทรงสี่เหลี่ยมขนาด 1.5 X 1.5 นิ้ว จำนวน 10 ชิ้น
วิธีเล่น   ให้สร้างรูปทรงจากจำนวนสี่เหลี่ยมที่กำหนด โดยด้านใดด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยมติดกัน
โจทย์    จำนวน 1 ชิ้น    >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
             จำนวน 2 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ? 
             จำนวน 3 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
             จำนวน 4 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
             จำนวน 5 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
คำตอบ จำนวน 1 ชิ้น    >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 1 รูป
               ได้แก่
                     
              จำนวน 2 ชิ้น   >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 1 รูป
                ได้แก่
                   
             จำนวน 3 ชิ้น   >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 2 รูป
               ได้แก่
                    
              จำนวน 4 ชิ้น   >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 5 รูป
                ได้แก่
                   
               จำนวน 5 ชิ้น   >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 12 รูป
                 ได้แก่
                  



วิธีการสอน

ประเมิน

เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศถ่ายเท

เข้าชั้นเรียนตรงเวลา จดบันทึก สรุปความจากอาจารย์บรรยาย แนะนำ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
เนื่องด้วยเป็นวันสุดท้ายของการเรียน ทำให้เหนื่อยล้า และไม่มีสมาธิระหว่างเรียนเท่าที่ควร

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความสนใจและตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามอาจารย์

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น
 หมายเหตุ ศึกษามาจาก นางสาว วราภรณ์ แทนคำ 

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกครั้งที่5 วันศุกร์ ที่ 6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
บันทึกอนุทิน

ความรู้ที่ได้รับ
              การนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียนของเพื่อน เลขที่ 10 - 12 
เลขที่ 11 นำเสนอบทความเรื่อง การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
      สรุป คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเริ่มตั้งแต่อยู่ในช่วงทารก การเล่น การสนทนา  การค้นคว้าสิ่งต่างๆรอบตัวจะเป็นพื้นฐานสำคัญให้เด็กรู้จักโครงสร้างทางคณิตศาสตร์            
มาตรฐาน มาตรฐาน 
     คือ เกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับใช้เทียบกำหนดปริมาณและคุณภาพ
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
         การเรียนรูคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุงหวังใหเด็กทุกคนไดเตรียมความพรอม ดานตาง ๆทางคณิตศาสตรอันเปนพื้นฐานการเรียนรูคณิตศาสตรในชั้นประถมศึกษา โดยกําหนดสาระหลักที่จําเป็นสำหรับเด็ก
          สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 6 สาระ
  สาระที่ 1: จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การดำเนินการของจำนวน การรวมและการแยกกลุ่ม
  สาระที่ 2:  การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
  สาระที่ 3: เรขาคณิต ตําแหนง ทิศทางระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิต สองมิติ
  สาระที่ 4: พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ
  สาระที่ 5: การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมขอมูลและการนําเสนอ
  สาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการางคณิตศาสตร์ การแกปญหา การใหเหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตรและการนําเสนอ การเชื่อมโยงความรู ตาง ๆ ทางคณิตศาสตรและเชื่อมโยงคณิตศาสตรกับศาสตรอื่น
       
           คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
    มีความคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร (Mathematical Thinking)
          - มีความรู ความเขาใจและความรูสึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจํานวนนับ 1 - 20
          - เขาใจหลักการ การนับ
          - รูจักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
          - รูคาของจํานวน เปรียบเทียบจํานวน เรียงลําดับจํานวน
          - เขาใจเกี่ยวกับการรวมและการแยกกลุม
    มีความรูความเขาใจพื้นฐานกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตรเงิน และ เวลา
          - เปรียบเทียบ เรียงลําดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร โดยใชเครื่องมือและหนวยที่ไมใชหนวยมาตรฐาน
          - รูจักเงินเหรียญและธนบัตร
          - เขาใจเกี่ยวกับ เวลาและคําที่ใชบอกชวงเวลา
    มีความรูความเขาใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
          - ตําแหนง ทิศทาง และระยะทาง
          - จําแนกรูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
    มีความรูความเขาใจแบบรูปและความสัมพันธ
    สามารถรวมใหและนําเสนอขอมูลในรูปแผนภูมิอยางงาย
    มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตรที่จําเปน
           - ความสามารถในการแกปญหา การใหเหตุผล
           - การสื่อสารการสื่อความหมายทางคณิตศาสตรและการนําเสน    
           - การเชื่อมโยงความรูตาง ๆทางคณิตศาสตรกับศาสตรอื่น ๆ
                                                         เพลง จัดแถว                                                  
                                   สองมือเราชูตรง           แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า                  
                                   ต่อไปย้ายมาข้างหน้า   แล้วเอาลงมาอยู่นท่ายืนตรง              
                                                         เพลง ซ้าย - ขวา
                                       ยืนให้ตัวตรง         ก้มหัวลงตบมือแผละ
                                       แขนซ้ายอยู่ไหน   หันตัวไปทางนั้นแหละ



ทักษะ

การร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
การสอนของครูนำมาบูรณาการใช้ในการสอนเด็กต่อไป
อื่นๆ

วิธีการสอน

ของครู
มีการยกตัวอย่างทำให้นักเรียนมองภาพออก
มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่าย
มีการอธิบายเนื้อหาโดยระเอียด เปิดโอกาสให้นักเรียนถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ

การประยุกต์ใช้

     สามารถนำกระบวนการการเรียนรู้ต่างๆหรือเทคนิคการสอนต่างๆของครูที่สอน สามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กต่อไปได้ เด็กก้จะได้ความรู้มากขึ้น
ประเมิน


สภาพห้องเรียน
      แอร์เย็นพอดีไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ห้องเรียนสะอาด ไม่มีกลิ่นอับ แต่พื้นที่อาจจะคับแคบไม่เหมาะในการทำกิจกรรมบางกิจกรรมตนเอง
      มีความตั้งใจเรียนกระตือรือร้นไม่ง่วงนอนเหมือนทุกๆคาบที่เข้าเรียน มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อน

เพื่อน
      แต่งตัวเรียบร้อย ไม่เล่นกันในห้องเรียน ตั้งใจเรียนมีความพากเพียรใส่ใจที่จะเรียน
อาจารย์

      พูดจาไพเราะหน้าตายิ้มแย้ม มีความพร้อมที่จะสอนนักเรียนอยู่เสมอเข้าถึงนักเรียนได้ทั่วถึง